บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตเเละการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

BEE BEE

BEE

แบ๊ว แบ๊ว

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

วิ่ง 4X100 เมตรหญิงรอบชิงเอเชี่ยนเกมส์

กีฬากรีฑา


ประวัติกีฬากรีฑา 

       สมัยมนุษย์ชาวถ้ำ กรีฑานับว่าเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดเกิดมาพร้อมกับมนุษย์ เพราะแต่ก่อนมนุษย์เราไม่รู้จักทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง ไม่รู้จักสร้างที่พัก เครื่องนุ่งห่มเหมือนปัจจุบัน มนุษย์สมัยนั้นต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติ และความดุร้ายของสัตว์ป่านานาชนิด มีที่อยู่อาศัยแห่งเดียวคือ ตามถ้ำซึ่งเราเรียกว่า Cave man พวกนี้แหล่ะที่เป็นต้นกำเนิดของการกีฬา โดยที่มนุษย์เหล่านี้ต้องกันตัวเองจากสัตว์ร้ายบางครั้งต้องวิ่งหนี การพยายามวิ่งเร็วเพื่อให้พ้นจากสัตว์ไป การวิ่งเร็วของคนถ้าหากเทียบกับปัจจุบันก็เป็นพวกวิ่งระยะสั้น หากการวิ่งหนีที่ต้องใช้การวิ่งเวลานาน ๆ ก็เป็นการวิ่งระยะยาว หรือวิ่งทน การวิ่งในที่นี้อาจรวมไปถึงการวิ่งเพื่อไล่จับสัตว์มาเป็นอาหารหรือการต่อสู้ ระหว่างเผ่ากันด้วย ในบางครั้งขณะที่วิ่งมีต้นไม้หรือก้อนหินขวางหน้า ถ้าเป็นต่ำก็กระโดดข้ามไป ปัจจุบันก็เป็นกระโดดข้ามรั้วและกระโดดสูง ถ้าต้องกระโดดข้ามลำธารเล็ก ๆ แคบ ๆ เป็นช่วง ๆ ติดต่อกัน ก็กลายมาเป็นกระโดดไกลและเขย่งก้าวกระโดด แต่ถ้าลำธารหรือเหวนั้นกว้างสุดที่จะกระโดดไกล และเขย่งก้าวกระโดดข้ามได้อย่างธรรมดาจำเป็นต้องหาไม้ยาว ๆ มาปักกลางลำธารหรือแง่หิน และโหนตัวข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ก็กลายเป็นกระโดดค้ำ การใช้หอกหรือแหลนที่ทำด้วยไม้ยาว ๆ เป็นอาวุธ พุ่งฆ่าสัตว์ปัจจุบันก็กลายมาเป็นพุ่งแหลน หรือการเอาก้อนหินใหญ่ ๆ ทุ่มใส่สัตว์ ขว้างสัตว์ก็กลายเป็น ขว้างจักรในสมัยนี้ จึงได้เห็นได้ว่าการวิ่ง กระโดด ทุ่ม พุ่ง ขว้าง เหวี่ยง ที่พ่อ แม่ หรือหัวหน้าเผ่าสั่งสอน ถ่ายทอดให้กันสมัยนั้น เพื่อไว้ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันมาในปัจจุบันก็มีเช่นกัน ผู้ทำหน้าที่นั้นก็คือ ครูบาอาจารย์ และโค้ชนั่นเอง สมัยโรมัน ต่อมาในปลายสมัยของ ? โฮเมอร์? มีชนเผ่าหนึ่งมาตั้งรกรากอยู่บนฟากฝั่งแม่น้ำ ? ไทเบอร์? ทางด้านตะวันออกของกรีก พวกนี้เองตอนหลังกลายเป็นพวกโรมันเป็นชาตินักรบมีความกล้าหาญ อดทน และมีอิทธิผลยิ่งใหญ่ขึ้นมาพร้อม ๆ กับความเสื่อมลงของประเทศกรีก และในที่สุด เมื่อกรีกตกอยู่ภายใต้ อำนาจของจักรวรรดิโรมัน การกีฬาของกรีกก็พลอยเสื่อมลงเป็นลำดับ ส่วนการพลศึกษาของโรมันเจริญขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ทางด้านพลศึกษา เพื่อให้พลเมืองมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เพื่อเป็นทหารของชาติต่อไป 




ประวัติกรีฑาในประเทศไทย 

        การเล่นกรีฑาในประเทศไทยริเริ่มโดยครูฝรั่งชาวอังกฤษนำมาสอนให้นักเรียนไทยได้ฝึกเล่นกัน ในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วค่อยเจริญแพร่หลายขึ้นหลังปี พ.ศ.2440 เป็นต้นมา การเล่นกรีฑาเริ่มเป็นทางการขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป และเมื่อเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย ทางราชการโดยมอบหมายให้ กระทรวงธรรมการ ครู นักเรียน รวมถึงประชาชนได้จัดการแข่งขันกรีฑานักเรียนและประชาชน โดยได้จัดขึ้น ณ ท้องสนามหลวง (ทุ่งพระสุเมรุ) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 และตั้งแต่นั้นมาก็จัดเป็นประเพณีสืบทอด ต่อกันมาโดยตลอด ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลตั้งกรมพลศึกษาขึ้น กรมพลศึกษามีนโยบายส่งเสริมการกีฬาและการกรีฑาของชาติ ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากตั้งกรมพลศึกษาขึ้นแล้ว กีฬาและกรีฑาได้ก็รับการสนับสนุน จัดให้มีการแข่งขันหลายประเภท เช่น กรีฑาระหว่างโรงเรียน กรีฑาระหว่างมหาวิทยาลัย และกรีฑาระหว่างประชาชน เป็นต้น ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการแข่งขัน กรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชน แทนกรมพลศึกษาและในปีนี้เองประเทศไทยก็สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์กรีฑาโลก ปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมกีฬา ประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาทุกๆ ปีหมุนเวียนกันไปในแต่ละจังหวัด ในการแข่งขันกีฬาเขต (กี ฬาแห่งชาติในปัจจุบัน) และถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องมีการแข่งขันทุกครั้ง ปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมกรีฑาสมัครเล่น แห่งประเทศไทยเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ 






เทควันโด (Tae Kwon Do)

เทควันโด


ประวัติความเป็นมา
       รากฐานของเทควันโดคือแทกคียอน รูปแบบการต่อสู้แบบดั้งเดิม ในทางกลับกันแทกคียอนนั้นย้อนอดีตกลับไปสู่ยุคที่เกาหลียังอยู่กันเป็นชนเผ่า แทกคียอนนั้นเป็นการรู้กันในชื่อที่แตกต่างกันไปจากยุคสู่ยุคและถูกพบว่ามีการเติบโตอย่างรวดเร็วในยุคของสามอาณาจักร (ช่วงระหว่างศตวรรษที่สี่ถึงเจ็ดคราวที่อาณาจักรโกกุเรียว ซิลลาและแบกเชต่อสู้กันเองเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในคาบสมุทรเกาหลี) หลังจากนั้นแทกคียอนมีการพัฒนามากขึ้นและมีวิวัฒนาการในระหว่างยุคกอร์เยว (ค.ศ. 918 - 1392) ช่วงเวลาที่ผู้ที่มีทักษะในการต่อสู้ได้รับการนับถือกันมาก ระหว่างช่วงเวลานั้น แทคคียอนใช้เป็นเครื่องมือในการเลื่อนยศของกองทัพ แต่สิ่งต่างๆเปลี่ยนไปเมื่อมาถึงยุคโชซอน (ค.ศ. 1392 -1910) เมื่อมีการใช้ดาบกันมากขึ้น ทำให้แทกคียอนค่อยๆลดต่ำลงจนไม่เห็นคุณค่า ขณะนี้เทควันโดซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากแทกคียอนได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาระดับโลกซึ่งเป็นผลมาจากความ แทกคียอนมีการจัดขึ้นประจำในอดีตเมื่อมีการจัดเทศกาลพื้นบ้านต่างๆ การแข่งขันกันกับหมู่บ้านใกล้กัน มีบันทึกว่าชอบมีการพนันขันต่อกันในผลการแข่งขันกันด้วย ข้อความ "แฮดองจุค" ในยุคปลายสมัยโชซอนให้คำบรรยายที่ถูกต้องที่สุดของแทกคียอนซึ่งมีมาแต่บันทึกในสมัยเก่าและมีการเขียนเกี่ยวกับแทกคียอนดังนี้ "มีบางสิ่งที่เรียกว่า กักซุล (ชื่อเก่าของแทกคียอน) ในวิธีทางเก่า ซึ่งคู่ต่อสู้สองคนเผชิญหน้ากัน และมีการเตะกันเพื่อล้มฝ่ายตรงข้ามให้ได้ มีด้วยกันสามระดับ ผู้ที่มีทักษะน้อยอาจได้แค่เตะขาส่วนที่มีทักษะสูงอาจเตะถึงหัวไหล่ ที่เก่งที่สุดจะเตะได้สูงถึงศีรษะ บรรพบุรุษของเราใช้มันเพื่อการล้างแค้นและแม้กระทั่งการพนันการต่อสู้เพื่อแย่งผู้หญิงกัน"



 การเตือน (-0.5 คะแนน)
       1) การทำผิดกติกา
         - การรวบคู่ต่อสู้
         - การเข้าปล้ำคู่ต่อสู้
         - การผลักคู่ต่อสู้
         - การใช้ร่างกายสัมผัสคู่ต่อสู้

       2) การแสดงอาการขลาดกลัว
        - การออกนอกเส้นเพื่อหลบการโจมตี
        - หันหลังให้คู่ต่อสู้เมื่อหลบการโจมตี
        - การล้มตัวลงเพื่อหลบหลีก
        - แกล้งทำเป็นเจ็บ
     
        3) การโจมตีผิดกติกา
        - การสัมผัสเป้าหมายบริเวณเข่าหรือหน้าผาก
        - การเตะเข้าที่หว่างขาโดยเจตนา
        - กายย่ำบริเวณแข้ง คาง เข่า และอื่นๆ ของคู่ต่อสู้ที่ล้มลง
        - การใช้มือตบหน้า

        4) มารยาททราม
        - เมื่อผู้แข่งขันหรือผู้ฝีกสอนโต้เถียงในเรื่องคะแนน
        - มารยาททรามของผู้ฝึกสอนหรือผู้แข่งขัน
        - เมื่อผู้ฝึกสอนลุกจากที่นั่ง

 การตัดคะแนน (- 1 คะแนน)
       1) การทำผิดกติกา
        - การใช้มือจับตัวคู่ต่อสู้กดให้ล้มลง
        - การจับขาคู่ต่อสู้ขณะเตะเพื่อให้ล้มลง

        2) การแสดงความขลาด
        - ออกนอกพื้นที่การแข่งขันเพื่อหลบการโจมตี
        - ตั้งใจจะให้การแข่งขันดำเนินต่อไปด้วยยาก

        3) การโจมตีที่ผิดกติกา
        - การโจมตีคู่ต่อสู้ที่ล้มลงแล้ว
        - การโจมตีคู่แข่งขันหลังจากกรรมการสั่งแยก
        - การโจมตีที่หลังศีรษะหรือที่หลังโดยจงใจ

        4) มารยาททราม
        - การกระทำที่ทรามสุดๆของผู้ฝึกสอนหรือผู้แข่งขัน 





ยกน้ำหนัก

ประวัติกีฬายกน้ำหนัก



 กีฬายกน้ำหนัก ในยุคเริ่มต้นไม่ได้เป็นกีฬาอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน สังคมในยุคโบราณ จะมีเรื่องราวของการท้าทาย การต่อสู้ หรือการแข่งขันของกลุ่มชนเผ่าเดียวกัน หรือต่างเผ่า ซึ่งดูเป็นเรื่องปกติ ทั่วไป คนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ต่างพยายามแสดงออกถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของตนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นความพยายามที่ต้องการแสดงออกว่าใครแข็งแรงกว่ากัน วิธีการวัดความแข็งแรงในสมัยนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การแบกลูกวัว การยกถุงทราย การยกหิน หรือการยกเหล็ก เป็นต้น รูปแบบวิธีวัดความแข็งแรงของร่างกายในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้พัฒนารูปแบบท่า ทางในการยกที่แตกต่างกันออกไป
          จากบันทึกในตำนานขอ งกรีก สามารถยืนยันได้ถึงการแข่งขันความแข็งแรงของคนในสมัยโบราณว่า ผู้ที่แข็งแรงที่สุดในสมัยนั้น คือ มิโลแห่งโครตัน (Milo of Croton) ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถชนะ
          การแข่งขันในกีฬาโอลิมปิคโบราณถึงหกครั้งด้วยกัน มิโลแห่งโครตันมีวิธีการฝึกให้คนมีความแข็งแรง ด้วยการแบกลูกวัวไว้บนบ่า เมื่อลูกวัวโตและมีน้ำหนักมากขึ้นก็จะทำให้มิโลแห่งโครตันมีพละกำลังมากขึ้น ตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าประมาณต้นศตวรรษที่สิบเก้าในทวีปยุโรปได้มีกองคาราวานของละคร สัตว์ตระเวนไปค้าขายแข่งขันหาคนที่แข็งแรงด้วยการยกของหนัก ๆ ตามชุมชนต่าง ๆ โดยใช้ดัมเบล (Dumb-bells) ที่มีคานยาวและมีตุ้มน้ำหนักติดแน่น การที่คณะละครสัตว์ตระเวนไปแข่งขันตามชุมชนต่าง ๆ แสดงว่าในแต่ละชุมชนนั้น มีคนที่สนใจในด้านนี้อยู่เสมอ การยกน้ำหนักจำนวนมาก ๆ นั้นจำกัดเฉพาะพวกที่ห้าวหาญ และได้รับความนิยมในกลุ่มของนักแสดง นักกายกรรมในคณะละครสัตว์เท่านั้น (Ford Movis. n.d.: 217-219)
         ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์การแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ ไม่มีการแข่งขันกีฬาใดที่จะมี ประวัติศาสตร์อันยาวนานเท่ากับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคชาวกรีก (กรีซ) เป็นประเทศแรกที่จัดการแข่งขันขึ้น เมื่อก่อนคริสตกาล การแข่งขันได้ดำเนินเรื่อยมาจนถึงพระเจ้าจักรพรรดิโรมัน ทรงพระนามว่า ซีโอโดซิอุส (Theodosius) ได้มีกระแสรับสั่งให้ระงับการแข่งขันเมื่อปี ค. ศ. 392 กีฬาโอลิมปิคถือว่าเป็นกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในสมัยกรีกโบราณที่จัดขึ้นทุกสี่ปีเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทพเจ้าซีอุส (Zeus) (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2537 : 554)
          การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ของกรี กโบราณและ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพราะทั้งสองประเทศเป็นอาณาจักรที่เรืองอำนาจที่สุดในโลก ในขณะนั้นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า เริ่มการแข่งขันเมื่อ 76 ปี ก่อนคริสตกาลเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ ในครั้งนั้นได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากพระเจ้าคลิโฮสเชเนส กษัตริย์แห่งเมืองปิซา พระเจ้าลิเคอร์กุส กษัตริย์แห่งสปาร์ตา และพระเจ้าอิฟิตุส กษัตริย์แห่งเมืองเอลิส หลายศตวรรษต่อมาได้เริ่มมีการพัฒนาการแข่งขันยิ่งขึ้น โดยได้เริ่มการเขียนกฎเกณฑ์การแข่งขันขึ้น เพื่อจะควบคุมการแข่งขันนั้นให้เกิดเป็นระเบียบ มีความยุติธรรม เช่น การขว้างจักร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการมีพลังแข็งแกร่ง อดทน และแข็งแรงในยุคนั้น บุคคลใดสามารถขว้างจักรได้ไกลที่สุด ย่อมได้รับยกย่องให้เป็นนักกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศนั้น (จรินทร์ ธานีรัตน์ 2511 : 4)
          ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งแรกมีกีฬาประเภทใดบ้าง นอกจากการแข่งขันวิ่งที่จัดให้มีการแข่งขันขึ้น ต่อมาก็จัดให้มีการแข่งขันมวยปล้ำ การกระโดดและกีฬามวย การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ประเทศกรีก (กรีซ) ได้พัฒนาและเจริญรุ่งโรจน์ถึงขีดสูงสุดเมื่อ 464 ปี ก่อนคริสตกาล ในขณะนั้นประเทศกรีก (กรีซ) ได้รวมประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว และทุก ๆ เมือง ทุก ๆ ท้องถิ่น ต่างมีความประสงค์อย่างยิ่งที่จะมีแชมป์เปี้ยนโอลิมปิคในเมืองของตน การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคได้ดำเนินเรื่อยมา จนกระทั่งมาหยุดชะงักลงเมื่อปี พ. ศ. 2459 (ค. ศ.1916) อันเนื่องมาจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็นอุปสรรคสำคัญในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค
          ประวัติการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักในประเทศกรีก (กรีซ) เริ่มขึ้นเมื่อ พ. ศ.2439 (ค. ศ.1896) เป็นครั้งแรก จัดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ ประเทศเจ้าภาพได้รับเหรียญจากการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักเพียง 2 เหรียญทองแดง (เหรียญบรอนซ์) สำหรับสหพันธ์ยกน้ำหนักของประเทศกรีซ มีชื่อเรียกว่า Hellenic Weightlifting Federation : HWF . ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ. ศ.2515 ( ค. ศ. 1972) โดยรวมอยู่กับสหพันธ์มวยปล้ำ


          การ แข่งขันกีฬายกน้ำหนักในรูปแบบปัจจุบันที่ใช้บาร์เบล เริ่มในศตวรรษที่ 19 ในยุโรปตะวันตก เป็นการแสดงของบุรุษผู้ทรงพลังในโรงละครสัตว์และโรงแสดงการดนตรี เมื่อปี พ . ศ.2448 (ค. ศ.1905) นี้เองถือว่า เป็นปีเริ่มต้นที่ก่อตั้งสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรก แต่การแข่งขันก็ขาดช่วงไปหลายปี จนกระทั่งปี พ. ศ.2463 (ค. ศ.1920) การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักก็ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ โดยได้บรรจุเข้าในการ แข่งขันกีฬาโอลิมปิคอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งถึงปัจจุบันกฎเกณฑ์การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักในระยะแรกอยู่ภายใต้ Federation International High Committee : FIHC. ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (International Weightlifting Federation : IWF) โดยมีศูนย์กลางหรือสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงบูคาเปสท์ ประเทศฮังการี





IPSC Thailand and THPSA Introduction