ประวัติความเป็นมา
รากฐานของเทควันโดคือแทกคียอน รูปแบบการต่อสู้แบบดั้งเดิม ในทางกลับกันแทกคียอนนั้นย้อนอดีตกลับไปสู่ยุคที่เกาหลียังอยู่กันเป็นชนเผ่า แทกคียอนนั้นเป็นการรู้กันในชื่อที่แตกต่างกันไปจากยุคสู่ยุคและถูกพบว่ามีการเติบโตอย่างรวดเร็วในยุคของสามอาณาจักร (ช่วงระหว่างศตวรรษที่สี่ถึงเจ็ดคราวที่อาณาจักรโกกุเรียว ซิลลาและแบกเชต่อสู้กันเองเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในคาบสมุทรเกาหลี) หลังจากนั้นแทกคียอนมีการพัฒนามากขึ้นและมีวิวัฒนาการในระหว่างยุคกอร์เยว (ค.ศ. 918 - 1392) ช่วงเวลาที่ผู้ที่มีทักษะในการต่อสู้ได้รับการนับถือกันมาก ระหว่างช่วงเวลานั้น แทคคียอนใช้เป็นเครื่องมือในการเลื่อนยศของกองทัพ แต่สิ่งต่างๆเปลี่ยนไปเมื่อมาถึงยุคโชซอน (ค.ศ. 1392 -1910) เมื่อมีการใช้ดาบกันมากขึ้น ทำให้แทกคียอนค่อยๆลดต่ำลงจนไม่เห็นคุณค่า ขณะนี้เทควันโดซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากแทกคียอนได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาระดับโลกซึ่งเป็นผลมาจากความ แทกคียอนมีการจัดขึ้นประจำในอดีตเมื่อมีการจัดเทศกาลพื้นบ้านต่างๆ การแข่งขันกันกับหมู่บ้านใกล้กัน มีบันทึกว่าชอบมีการพนันขันต่อกันในผลการแข่งขันกันด้วย ข้อความ "แฮดองจุค" ในยุคปลายสมัยโชซอนให้คำบรรยายที่ถูกต้องที่สุดของแทกคียอนซึ่งมีมาแต่บันทึกในสมัยเก่าและมีการเขียนเกี่ยวกับแทกคียอนดังนี้ "มีบางสิ่งที่เรียกว่า กักซุล (ชื่อเก่าของแทกคียอน) ในวิธีทางเก่า ซึ่งคู่ต่อสู้สองคนเผชิญหน้ากัน และมีการเตะกันเพื่อล้มฝ่ายตรงข้ามให้ได้ มีด้วยกันสามระดับ ผู้ที่มีทักษะน้อยอาจได้แค่เตะขาส่วนที่มีทักษะสูงอาจเตะถึงหัวไหล่ ที่เก่งที่สุดจะเตะได้สูงถึงศีรษะ บรรพบุรุษของเราใช้มันเพื่อการล้างแค้นและแม้กระทั่งการพนันการต่อสู้เพื่อแย่งผู้หญิงกัน"
ผู้แข่งขันเทควันโดสามารถแบ่งเป็นรูปแบบหลักสองแบบ แบบแรกคือ ผู้แข่งขันที่ชอบในเชิงรุกซึ่งจะใช้ทักษะที่น่าประทับใจ และแสดงออกอย่างดุดันในการแข่งขัน ผู้ที่ชอบในเชิงรับในทางกลับกันป้องกันตัวอย่างสุขุมเพื่อหาโอกาสเข้าทำแบบจะๆเพื่อเก็บคะแนน ในการดูการแข่งขันนั้นการสำรวจประวัติของผู้เข้าแข่งขันเพื่อบ่งบอกว่าใครชอบรูปแบบใด และมีวิธีการการให้คะแนนด้านล่างเพื่อทำนายว่าใครจะชนะ
เพราะเทควันโดเป็นกีฬาที่มีความรุนแรงสูง จึงมีการแบ่งการแข่งขันเป็นช่วงละ 3 นาที สามช่วง และมีการพักหนึ่งนาทีในแต่ละช่วง คะแนนอาจมีการเพิ่มหรือลด และผลคะแนนที่ได้ในสามช่วงนั้นจะสะสมกันจนถึงช่วงสุดท้ายของการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะ ในกรณีที่ต้องมีการต่อเวลาผู้ชนะคือผู้ที่ได้รับคะแนนในเชิงบวกมากที่สุด ถ้ายังหาผู้ชนะไม่ได้อีกการตัดสินจะอยู่ในดุลยพินิจของกรรมการผู้ซึ่งจะเลือกผู้ที่แสดงการโจมตีที่ดีที่สุดในระหว่างการแข่งขัน
การเตือน (-0.5 คะแนน)
1) การทำผิดกติกา
- การรวบคู่ต่อสู้
- การเข้าปล้ำคู่ต่อสู้
- การผลักคู่ต่อสู้
- การใช้ร่างกายสัมผัสคู่ต่อสู้
2) การแสดงอาการขลาดกลัว
- การออกนอกเส้นเพื่อหลบการโจมตี
- หันหลังให้คู่ต่อสู้เมื่อหลบการโจมตี
- การล้มตัวลงเพื่อหลบหลีก
- แกล้งทำเป็นเจ็บ
3) การโจมตีผิดกติกา
- การสัมผัสเป้าหมายบริเวณเข่าหรือหน้าผาก
- การเตะเข้าที่หว่างขาโดยเจตนา
- กายย่ำบริเวณแข้ง คาง เข่า และอื่นๆ ของคู่ต่อสู้ที่ล้มลง
- การใช้มือตบหน้า
4) มารยาททราม
- เมื่อผู้แข่งขันหรือผู้ฝีกสอนโต้เถียงในเรื่องคะแนน
- มารยาททรามของผู้ฝึกสอนหรือผู้แข่งขัน
- เมื่อผู้ฝึกสอนลุกจากที่นั่ง
การตัดคะแนน (- 1 คะแนน)
1) การทำผิดกติกา
- การใช้มือจับตัวคู่ต่อสู้กดให้ล้มลง
- การจับขาคู่ต่อสู้ขณะเตะเพื่อให้ล้มลง
2) การแสดงความขลาด
- ออกนอกพื้นที่การแข่งขันเพื่อหลบการโจมตี
- ตั้งใจจะให้การแข่งขันดำเนินต่อไปด้วยยาก
3) การโจมตีที่ผิดกติกา
- การโจมตีคู่ต่อสู้ที่ล้มลงแล้ว
- การโจมตีคู่แข่งขันหลังจากกรรมการสั่งแยก
- การโจมตีที่หลังศีรษะหรือที่หลังโดยจงใจ
4) มารยาททราม
- การกระทำที่ทรามสุดๆของผู้ฝึกสอนหรือผู้แข่งขัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น