ประวัติมวยไทย
มวยไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านานไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าเกิดขึ้นเมื่อใด มวยไทยถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติไทย ยากที่ผู้อื่นจะเลียนแบบได้โดยง่ายประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศมีการต่อสู้กันอยู่เนืองๆการฝึกมวยไทยจึงนิยมกันในหมู่ทหารในการสู้รบคนไทยพยายามหาวิธีที่จะมิให้คู่ต่อสู้ประชิดติดตัวมากเกินไป จึงคิดศิลปะป้องกันตัวที่ใช้เท้าเป็นอาวุธ ผสมเข้ากับการต่อสู้ด้วยดาบ เมื่อคู่ต่อสู่เสียหลักเพราะถูกถีบหรือเตะจึงค่อยฟันด้วยดาบ ต่อมาก็ได้คิดฝึกการถีบและเตะให้เป็นศิลปะสำหรับต่อสู้ป้องกันตัวเป็นศิลปะมวยไทยสำหรับใช้แสดงในเทศกาลต่าง ๆ ได้ มีการตั้งสำนักฝึกมวยไทยขึ้นหลายสำนักและพัฒนาท่าต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ สำหรับต่อสู้ป้องกันตัวและสู้รบกับข้าศึก
โดยเหตุที่ชาติไทยต้องผ่านการต่อสู้เพื่อผดุงความเป็นขาติมาในประวัติศาสตร์อันยาวนาน คนไทยจึงมีนิสัยนักสู้ และศิลปะมวยไทยก็เป็นเครื่องสะท้อนนิสัยความนักสู้ของคนไทยได้อย่างชัดเจน
ในสมัยกรุงธนบุรีการฝึกมวยไทยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยในการสงครามโดยเฉพาะ เพราะเป็นยุคกู้ชาติและฟื้นฟูบ้านเมืองการฝึกมวยไทยในสมัยกรุงธนบุรีมีจุดมุ่งหมายเพื่อราชการทหารมีการฝึกหัดตามสำนักและตามบ้านในพระราชวัง และมีการแข่งขันกันมากในเทศกาล มีการชกแบบคาดเชือกคล้ายสมัยอยุธยาเหตุการณ์ที่เล่าขานเกี่ยวกับมวยไทยต้นสมัยรัตนโกสินทร์มีอีกเรื่อง คือ เมื่อ พ.ศ. 2331 มีเรือกำปั่นฝรั่งเศสเข้ามาถึงพระนคร มีฝรั่งสองพี่น้องเป็นนายกำปั่น คนน้องเป็นนักมวยมีฝีมือเที่ยวพนันชกชนะมาหลายครั้งแล้ว ได้เข้ามาท้าชกและได้มีการจัดให้ชกหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพรหะพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระอนุชาธิราช คือ พระบวรราชเจ้าพระสุรสิงหนาท นักมวยไทย คือ หมื่นผลาญ ในขณะที่ชกนักมวยไทยหลบหลีกไม่ให้ฝรั่งคู่ชกทำร้าย ฝรั่งผู้พี่ไม่พอใจลงมาช่วยผลักนักมวยไทยไม่ให้หนี สมเด็จพระอนุชาธิราชเห็นความไม่ชอบมาพากล จึงลงมาจากพลับพลา ยกพระบาทถีบล้มลง ชกอีกไม่ได้บ่าวไพร่ฝรั่งเข้ามาช่วยพาออกไป เมื่อเยียวยาวแล้วฝรั่งสองพี่น้องและพวกรับให้ล่ามมากราบเรียนพระยาพระคลัง ให้ช่วยกราบถวายบังคมลา แล้วรับแล่นเรือออกจากพระนครไป มวยไทยจึงเป็นที่เลื่องลือและเป็นที่คร้ามเกรงกันไปในนานาประเทศตั้งแต่นั้นมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น